วัคซีนโควิด 19 ฉีดดีไหม ? ฟังจากปากแพทย์ใหญ่ กับเหตุผลที่ควร(รีบ)ไปฉีดวัคซีน

วัคซีนโควิด 19 ฉีดดีไหม ? ฟังจากปากแพทย์ใหญ่ กับเหตุผลที่ควร(รีบ)ไปฉีดวัคซีน

ฉีดวัคซีนโควิด ดีหรือไม่ดี ฉีดแล้วปวดแขน ปวดหัว ไข้ขึ้น ผลข้างเคียงแบบนี้น่ากลัวไหม มาฟังคำตอบจากอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันชั้นนำระดับประเทศ ตอบชัด ๆ ฉีดแล้วอันตรายหรือไม่

ฉีดวัคซีนโควิด 19 ดีหรือไม่ดี

กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวนี่แหละมักชอบถาม และชอบกังวล
ว่าเป็นโรคนั้นโรคนี้จะฉีดวัคซีนได้ไหม
อันที่จริงอันตรายจากโรคประจำตัว มันมากอยู่แล้ว
ถ้าเกิดเป็นโควิดขึ้นมา ยิ่งมากขึ้นไปใหญ่เลย วัคซีนเป็นกลไก เป็นอาวุธ

 ผศ. นพ.กำธร มาลาธรรม นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตอบคำถามในรายการ RAMA Channel ถึงวัคซีนโควิด 19 ที่เป็นดั่งความหวังและทางรอดเดียว ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการระบาดระลอกใหม่ที่หนักข้อขึ้นเรื่อย ๆ แต่ขณะเดียวกัน ประชาชนจำนวนไม่น้อย ยังคงมีความกลัว ลังเล และเกิดคำถามในใจว่า จะฉีดดีไหม ? รอก่อนดีหรือเปล่า ? ฉีดไปแล้วจะเสี่ยงตายหรือไม่ ?

ฉีดวัคซีนโควิด 19 ดีหรือไม่ดี

 ศ. พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า คนไทยฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว จำนวน 1.7 ล้านคน ยังไม่มีใครตายจากการฉีดวัคซีนแม้แต่คนเดียว แต่ในทุก ๆ วัน มีคนเสียชีวิตจากโควิด 19 ประมาณ 1-2% หรือ 1-2 คน จาก 100 คน ดังนั้นให้กลัวโรคมากกว่ากลัววัคซีน ส่วนประเด็นผลข้างเคียงที่เป็นแพ้ มีประมาณ 1 ในแสนคน ส่วนไข้ขึ้น ปวด บวมแดง ตามรายงานมีไม่ถึง 10% (หรืออาจจะมีมากกว่านี้)

           ส่วนกรณีไข้ขึ้น ก็อย่าไปตกใจ เพราะนั่นแสดงถึงปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อวัคซีน และถ้าไข้สูง ภูมิคุ้มกันมักจะขึ้นดี ยิ่งในกลุ่มคนอายุน้อยไข้จะเยอะหน่อย ผู้หญิงก็จะเยอะกว่าผู้ชาย อาการจะเป็นอยู่ 1-2 วัน แล้วจะหายเป็นปกติ

ฉีดวัคซีนโควิด 19 ดีหรือไม่ดี

ฉีดวัคซีน กับไม่ฉีด ต่างกันอย่างไร ?

ผศ. นพ.กำธร ตอบว่า ต่างกันมาก เมื่อฉีดปุ๊บ โอกาสที่จะติดโรคลดลงทันที 50% และยิ่งฉีดวัคซีนครบแล้ว ก็ยิ่งดี ความแตกต่างยิ่งมาก ยิ่งเห็นชัด เมื่อภูมิขึ้นถึงจุดหนึ่งจะปลอดภัยมาก ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยจากทั่วโลก และทีมระบาดวิทยาของโรงพยาบาลรามาธิบดี ก็มีการรวบรวมข้อมูลพวกนี้ไว้ทั้งหมด พบว่าเห็นความแตกต่างชัดเจน

ฉีดวัคซีนโควิด 19 ดีหรือไม่ดี

ขณะที่ ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า วิกฤตครั้งนี้จะแก้ปัญหาได้ด้วยวัคซีนอย่างเดียวเลย จะเห็นได้ว่าทั่วโลกทำไมจึงไขว่คว้าหาวัคซีน ขณะนี้ทั่วโลกฉีดวัคซีนไปแล้ว 1,300 ล้านโดส แต่เป้าหมายของโลกจะต้องฉีดให้ได้อย่างน้อย 1 หมื่นล้านโดส ส่วนประเทศไทย ก็ต้องฉีดไม่น้อยกว่า 100 ล้านโดส จึงจะยุติวิกฤตนี้ได้

วิกฤตครั้งนี้ผมบอกได้เลยว่า จะยุติได้ก็ด้วยวัคซีน
และการฉีดวัคซีนสำหรับผมแล้ว อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น
ยังน้อยกว่าที่ผมข้ามถนนที่สีลม

ศ. นพ.ยง กล่าวต่อว่า ตัวอย่างในประเทศอิสราเอล ใช้เวลา 4 เดือน ฉีดวัคซีนได้ประมาณ 130 โดสต่อประชากร 100 คน เรียกได้ว่าอิสราเอลตอนนี้กลับมาอยู่ในภาวะเกือบจะปกติแล้ว ซึ่งถ้าประเทศไทยอยากกลับมาสู่ภาวะปกติ ก็จะต้องฉีดให้ได้ 100 ล้านโดส ภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุด อย่างถ้าวางแผนไว้ว่า วันละ 3 แสนโดส ต้องใช้เวลาราว 10 เดือน ก็จะไม่ทันก่อนสิ้นปี แต่หากขยับขึ้นมาเป็นวันละ 4-5 แสนโดส เพื่อให้ครอบคลุมได้เร็วที่สุด ยิ่งถ้าทำได้ภายในสิ้นปีนี้ ก็จะปลดล็อกให้ได้ ถ้ายืดสั้นมาเหลือ 4 เดือนได้แบบบางประเทศ เราก็จะเปิดประเทศได้เลย

ถ้าฉีดแล้วแพ้ล่ะ ทำอย่างไร ?

ศ. พญ.กุลกัญญา อธิบายว่า ในระบบการให้วัคซีนมีข้อกำหนดอย่างหนึ่งคือ ทุกแห่งที่มีการฉีดวัคซีนจะต้องมีการเฝ้าอาการ มีอุปกรณ์ชุดช่วยเหลือและยาอย่างเต็มที่ และเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญประจำ ณ จุดฉีด ทั้งหมอและพยาบาลคอยดูแลตามมาตรฐาน ถ้ามีอาการแพ้รุนแรง จะมีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่างไรก็ตาม อัตราอาการแพ้ คือ 1 ในแสนคน

ฉีดวัคซีนโควิด 19 ดีหรือไม่ดี

รศ. นพ.วินัย รัตนสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม กล่าวเสริมว่า ตั้งแต่ร่วมรับผิดชอบการฉีดวัคซีนในประเทศไทยมา การฉีดวัคซีนโควิดครั้งนี้มีการเตรียมพร้อมและการดูแลดีที่สุด เมื่อฉีดเสร็จจะมีการให้รอดูอาการ 30 นาที ถ้าเกิดอาการข้างเคียงรุนแรง เจ้าหน้าที่จะช่วยได้ทัน และหลังจากการฉีดวัคซีนไปแล้วจะมีการเก็บข้อมูลว่าใครได้วัคซีนลอตไหน เก็บแบบเรียลไทม์ ดังนั้น ถ้าใครถ้าเกิดอาการข้างเคียงขึ้น ไม่ว่าจะไปโรงพยาบาลไหนก็จะรู้ทันทีว่าคนนี้ได้รับวัคซีนตัวใดมา

ขอบคุณที่มา : Kapook

Hi, How Can We Help You?

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save